บันทึกครั้งที่ 6
วัน จันทร์ ที่ 12 กันยายน พ. ศ. 2559
เนื้อหา
เนื้อหา
บทที่ 5 รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา
สถานศึกษาปฐมวัยจะต้องทำหน้าที่และร่วมกันรณรงค์เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาและการมีส่วนร่วมกับการศึกษาปฐมวัย
โดยจะต้องพัฒนาทั้งความรู้และทักษะ เพื่อนำไปใช้กับเด็กอย่างถูกวิธี
รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน
ข่าวสารประจำสัปดาห์
เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน
ข้อมูลประจำสัปดาห์ประกอบไปด้วย
-
รายละเอียดของสาระการเรียนรู้
ประสบการณ์และกิจกรรมที่สถานศึกษาวางแผนไว้ประจำสัปดาห์
-
พัฒนาการและการเรียนรู้ที่เด็กได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
-
กิจกรรมครอบครัว เป็นกิจกรรมที่พ่อแม่
ร่วมทำกับเด็กโดยในข่าวสารจะเสนอแนะกิจกรรมต่างๆ เช่น ประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็ก
เกม วาดภาพระบายสี เพลงคำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ฯลฯ
-
เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง เป็นการให้ข้อมูลความรู้เพื่อนำไปอบรมเลี้ยงดู
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็ก
-
ข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง เป็นการให้ผู้ปกครองแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ
เพื่อเป็นข้อมูลในการสนับสนุนและพัฒนาเด็กให้ดียิ่งขึ้น
จดหมายข่าวและกิจกรรม
เป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครอง
ในชั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก
โดยจัดส่งให้ผู้ปกครองในทุกสัปดาห์หรือตามความเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่นำเสนอในจดหมายข่าวและกิจกรรมอาจจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังนี้
-
ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็กและผู้ปกครอง
-
กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับผู้ปกครอง เช่น นิทาน ศิลปะ ภาษา ฯลฯ
-
ความรู้สำหรับผู้ปกครอง ฯลฯ
การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า
3
ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย
กระทรวงสาธารณสุข เกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า
3
ปี ด้วยการให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีคุณภาพ
โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ
คือ
-
วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
-
วิธีการสนทนากลุ่ม
-
วิธีอภิปรายกลุ่ม
-
วิธีการบรรยาย
โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต
กรมสุขภาพจิต เป็นโครงการที่มุ่งเร่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชนไทย
โดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ
ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย
เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย
-
แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
-
คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
-
หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
-
ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
-
จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง
จัดเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองอีกรูปแบบหนึ่ง
ซึ่งสามารถจัดได้บริเวณหน้าชั้นเรียนของทุกห้องเรียน
โดยนำข้อมูลความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครอง จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น
-
ข้อมูลจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร
- เกร็ดความรู้หรือสาระน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง
-
ภาพถ่ายกิจกรรมในชั้นเรียน
-
ผลงานแห่งความภาคภูมิใจ
-
กิจกรรมในโอกาสพิเศษ เช่น ทัศนศึกษา การแสดงในวันปีใหม่ ฯลฯ
การสนทนา
การสนาเป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด
การสนทนาเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครอง
และช่วยในการให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นไปได้อย่างราบรื่น
โดยมีวัตถุประสงค์ในการสนทนาดังนี้
-
เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็ก
-
เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียน
-
เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กขณะที่อยู่ที่โรงเรียนและที่บ้าน
รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา
ห้องสมุดผู้ปกครอง
เป็นสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆ
อันเป็นแหล่งเรียนรู้ อีกรูปแบบหนึ่งของการให้บริการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร
ความเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัยสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง
เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานของสถานศึกษา
การอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การจัดการศึกษา
ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันและส่งผลต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
ป้ายนิเทศ
ป้ายนิเทศในลักษณะนี้เป็นป้ายที่จัดเพื่อให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ปกครองทั้งสถานศึกษา
ลักษณะของป้ายประกอบด้วย ภาพ ตัวอักษร ของจริง แผนภูมิ สถิติ ฯลฯ
ป้ายนิเทศจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ดังนี้
- ข้อมูลการดำเนินงานของโรงเรียน
เช่น ปรัชญา นโยบาย วัตถุประสงค์ ฯลฯ
-
ข่าวสารประจำวันจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ฯลฯ
-
ข่าวของสถานศึกษา เช่น การประชุม สัมมนา กิจกรรมต่างๆ
-
ประกาศต่างๆ ของทางโรงเรียน เช่น วันหยุด นัดประชุมฯลฯ
-
ข่าวสารบริการต่างๆ เช่น แนะนำสถานศึกษา ข้อมูลกิจกรรมของเด็ก
-
กิจกรรมของสถานศึกษา เช่น กิจกรรมวันครู วันพ่อ วันแม่ ฯลฯ
-
ป้ายสำหรับผู้ปกครองในการแสดงความคิดเห็น
โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองดังกล่าวเป็นรูปแบบของการพัฒนาศักยภาพของผู้ปกครองให้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดู
และส่งเสริมพัฒนาการตลอดจนการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
ได้จัดทำแผนงานพัฒนาพ่อแม่ ผู้ปกครอง
สมาชิกในครอบครัวและผู้ที่เตรียมตัวเป็นพ่อแม่ ดังนี้
-
สถานศึกษา
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชนทั่วไปให้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
-
จัดบริการเสริมความรู้ ความเข้าใจ ฝึกทักษะให้พ่อแม่ ครอบครัว
คู่สมรสมีความเข้าใจในวิธีเลี้ยงดูเด็ก
-
ส่งเสริมให้องค์กรของรัฐ เอกชน ท้องถิ่นจัดฝึกอบรมให้แก่พ่อแม่ คู่สมรสใหม่และผู้ปกครอง
-
สนับสนุนโครงการต่างๆ ที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
-
จัดให้มีวิธีการประเมินผลการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง
นิทรรศการ
เป็นรูปแบบที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาให้แก่ผู้ปกครองได้อย่างกว้างขวางรูปแบบหนึ่งด้วยการใช่สื่อหรืออุปกรณ์หลายชนิดในการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้
ข้อมูลข่าวสารเช่น ภาพเขียน ภาพถ่าย สถิติ หุ่น ผลงานเด็ก ภาพยนตร์
วีดีโอและซีดีซึ่งมีรูปแบบของนิทรรศการที่สามารถจัดได้ในสถานศึกษาดังนี้
-
นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
-
นิทรรศการเพื่อให้ความรู้
-
นิทรรศการเพื่อความบันเทิง
มุมผู้ปกครอง
เป็นบริเวณที่สถานศึกษาจัดให้บริการแก่ผู้ปกครองในระหว่างการเยี่ยมชมโรงเรียน
การรอรับ-ส่งเด็ก หรือพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้ปกครองหรือครู
เป้าหมายสำคัญของการจัดมุมผู้ปกครองคือ
-
เพื่อให้ผู้ปกครองได้ใช้เวลาว่างระหว่างการรอรับ-ส่งเด็ก ให้เกิดประโยชน์ด้วยการอ่านหนังสือ
ฯลฯ
-
เป็นบริเวณที่ให้ผู้ปกครองได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างผู้ปกครองด้วยกัน
-
เพื่อผู้ปกครองและเด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกันตามความเหมาะสมในระยะเวลาสั้นๆ เช่น
อ่านหนังสือ ดูภาพกิจกรรมของเด็ก ชมผลงานเด็ก ฯลฯ
การประชุม
เป็นกิจกรรมหลักของสถานศึกษาที่สามารถใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหรือให้ความรู้แก่ผู้ปกครองได้ดีที่สุด
ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานของถานศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย
จุดประสงค์ของการจัดประชุมผู้ปกครองมีดังนี้
-
เพื่อแถลงนโยบายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
-
แลกเปลี่ยนทัศนคติระหว่าสถานศึกษากับผู้ปกครอง
-
แจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงาน
-
ประสานงานและทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง
-
สร้างความสามัคคีระหว่างผู้ปกครองกับครู
-
พัฒนาความรู้ความเข้าใจกับผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การจัดการศึกษา
ฯลฯ
จุลสาร
เป็นลักษณะของสิ่งพิมพ์
เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในทุกๆ ด้าน
ให้แก่ผู้ปกครองได้รับทราบความเคลื่อนไหวและเพื่อประชาสัมพันธ์
เนื้อหาในจุลสารจะประกอบไปด้วย 4 ส่วน คือ
ส่วนของบรรณาธิการ เรื่องราวของเด็กๆ
บทความรู้ และเบ็ดเตล็ด การจัดทำจุลสารเพื่อให้มีความน่าสนใจ โดยพิจารณาดังนี้
-
เนื้อหาความรู้ที่นำเสนอ -
จัดทำรูปเล่มให้น่าสนใจ
-
ภาพประกอบมีสีสันสวยงาม -
ภาษาไม่ควรจะเป็นวิชาการมากเกินไป
-
ควรมีคอลัมน์สำหรับผู้ปกครอง
คู่มือผู้ปกครอง
เป็นเอกสารที่ให้ความรู้ผู้ปกครองได้รับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา
โดยจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเหมือนหนังสือทั่วไป ข้อมูลในคู่มือผู้ปกครองประกอบไปด้วย
-
ปรัชญาและเป้าหมายของสถานศึกษา
-
หลักสูตรและการจัดประสบการณ์
-
บุคลากรเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถ
-
อาคาร สถานที่ สภาพแวดล้อม
-
การจัดบริการและสวัสดิการต่างๆ
-
กฎ ระเบียบ และแนวปฏิบัติ สำหรับผู้ปกครองได้ทราบโดยทั่วกัน
-
การวัดและประเมินผล
ระบบอินเทอร์เน็ต
เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ใช้เพื่อการเรียนการสอน และเวิลด์ไวด์เวป
(WWW.) การใช้อินเทอร์เน็ตในการให้ความรู้ผู้ปกครองนับเป็นบริการด้านหนึ่งที่สถานศึกษาสามารถจัดทำในรูปแบบ
เวิลด์ไวด์เวป
บริการให้ความรู้ผู้ปกครองผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่สถานศึกษาบรรจุลงในเว็บไซด์
สามารถให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับ
-
ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา -
เครือข่ายสถานศึกษาที่เกี่ยวข้อง
-
สาระความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับเด็ก
-
กิจกรรมสำหรับผู้ปกครองและเด็ก
-
กิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข่าวสาร ข้อมูล
-
คำถามของผู้ปกครอง
สรุป
รูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองดังกล่าว
สถานศึกษาสามารถจัดให้บริการแก่ผู้ปกครอง
โดยมีข้อคิดที่สำคัญคือการคิดหาสื่อและช่องทางที่จะทำให้ความรู้ต่างๆ
ถึงผู้ปกครองอย่างถั่วถึง รวดเร็ว และมีการตอบกลับ
เพื่อให้สถานศึกษาได้รับรู้ว่าผู้ปกครองตระหนักถึงบทบาทของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและทำให้การศึกษาระหว่างบ้านและสถานศึกษามีความเข้าใจที่ตรงกัน
ทำให้การศึกษาเกิดแนวคิดต่อการพัฒนารูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพมากสูงสุด
ความรู้ที่ได้รับ
ได้รู้รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา
การประเมิน
ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลาตั้งใจเรียนตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมมาก
ประเมินคุณครู
คุณครูเข้าสอนตรงเวลา สร้างบรรยากาศให้นักศึกษาน่าเรียนอยู่เสมอ มีวิธีการสอนที่หลากหลาย ให้ทำกิจกรรม อยู่เสมอทำให้นักศึกษาเรียนอย่างสนุก
ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลาตั้งใจเรียนตั้งใจทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมมาก
ประเมินคุณครู
คุณครูเข้าสอนตรงเวลา สร้างบรรยากาศให้นักศึกษาน่าเรียนอยู่เสมอ มีวิธีการสอนที่หลากหลาย ให้ทำกิจกรรม อยู่เสมอทำให้นักศึกษาเรียนอย่างสนุก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น